วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

6 on September 12 th , 2017


การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น 
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ ย่อมคำนึงถึงเหตุปัจจัยหลายประการที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างสิ่งแวดล้อมกับกระบวนการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากผลผลิตและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนั้น การที่จะช่วยให้มนุษย์อยู่ดี กินดีและมีคุณภาพชีวิตสูงขึ้น สามารถพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จำเป็นที่จะต้องเปิดรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าสู่กระบวนการเรียน การสอน ส่งเสริมแนวคิด คุณธรรม จริยธรรม ที่สองดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมบนพื้นฐานของแต่ละวัฒนธรรม
ธรรมชาติของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เน้นกระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้ โดยที่ผู้เรียนค้นพบความรู้ และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่ง Eisenkraft (2003) ได้เสนอรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จาก 5 ขั้นตอน เป็น 7 ขั้นตอน โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้มีความสนใจและสนุกกับการเรียน และยังสามารถปรับประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การสร้างประสบการณ์ของตนเอง
การสอนตามแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เป็นการสอนที่เน้นการถ่ายโอนการเรียนรู้ และความสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบความรู้เดิมของเด็ก ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูละเลยไม่ได้ และการตรวจสอบความรู้พื้นฐานเดิมของเด็กจะทำให้ครูค้นพบว่านักเรียนต้องเรียนรู้อะไรก่อน ก่อนที่จะเรียนรู้ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นของการเรียนรู้ตามแนวคิด Eisenkraft มีเนื้อหาสาระ ดังนี้
          1.ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Elicitation Phase) ครูจะต้องทำหน้าที่การตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความรู้เดิม คำถามอาจจะเป็นประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามสภาพสังคมท้องถิ่น หรือประเด็นข้อค้นพบทางวิทยาศาสตร์ การนำวิทยาศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน และเด็กสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ไปยังประสบการณ์ที่ตนมี ทำให้ครูได้ทราบว่า เด็กแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเป็นอย่างไร ครูควรเติมเต็มส่วนใดให้นักเรียน และครูยังสามารถวางแผน การจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
          2.ขั้นเร้าความสนใจ (Engagement Phase) ขั้นนี้เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนหรือเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งอาจเกิดความสนใจของนักเรียน หรือเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เด็กเพิ่งเรียนรู้มาแล้ว ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม ยั่วยุให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น และกำหนดประเด็นที่จะศึกษาแก่นักเรียน ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นที่น่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร อินเตอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดความคิดขัดแย้งจากสิ่งที่นักเรียนเคยรู้มาก่อน ครูเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนคิด โดยเสนอประเด็นที่สำคัญขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามี่ครูกำลังสนใจ เป็นเรื่องที่ให้นักเรียนศึกษา เพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบในขั้นตอนต่อไป
            3.ขั้นสำรวจค้นหา (Exploration Phase) เมื่อนักเรียนทำความเข้าใจประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผน กำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศหรือปรากฏการณ์ต่างๆ วิธีการตรวจสอบ อาจทำได้หลายวิธี เช่น สืบค้นข้อมูล สำรวจ ทดลอง กิจกรรมภาคสนาม เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างพอเพียง ครูทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนตรวจสอบปัญหาและดำเนินการสำรวจตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
4.ขั้นอธิบาย (Explanation Phase) เมื่อนักเรียนได้ข้อมูลมาแล้วนักเรียนจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลอง รูปวาด ตาราง กราฟ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนเห็นแนวโน้มหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล สรุปและอภิปรายผลการทดลอง โดยอ้างอิงประจักษ์พยานอย่างชัดเจนเพื่อนำเสนอแนวคิดต่อไป ขั้นนี้จะทำให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุน สมมติฐาน แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปแบบใดก็สามารถสร้างความรู้ และช่วยนักเรียนไดเกิดการเรียนรู้
5.ขั้นขยายความรู้ (Elaboration Phase) ช่วงนี้เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดเดิมที่ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือ
เหตุการณ์อื่นๆ ถ้าใช้อธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้มากก็แสดงว่ามีข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น ครูควรจัดกิจกรรมหรือสถานการณ์ให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น และขยายแนวกรอบความคิดของตนเองและต่อเติมให้สอดคล้องกับประสบการณ์เดิม ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนตั้งประเด็นเพื่ออภิปรายและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
6.ขั้นประเมินผล (Evaluation Phase) ขั้นนี้เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่า นักเรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ขั้นนี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้มาประมวลและปรับประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ ได้ ครูควรส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ใหม่ที่ได้ไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ นอกจากนี้ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบซึ่งกันและกัน

7.ขั้นนำความรู้ไปใช้ (Extention Phase) ครูจะต้องมีการจัดเตรียมโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ครูเป็นผู้ทำหน้าที่กระตุ้นให้นักเรียนสามารถนำความรู้ไปสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้

          รูปแบบการจัดการสอนตามแนวคิดของ Eisenkraft เป็นรูปแบบที่ครูสามารถนำไปปรับประยุกต์ให้เหมาะสมตามธรรมชาติวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้อันที่จะทำให้นักเรียนเข้าถึงความรู้ความจริงได้ด้วยตัวเอง และนักเรียนได้รับการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง 7 ขั้น ควรระลึกอยู่เสมอว่าครูเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อและแบ่งปันประสบการณ์ จัดสถานการณ์เร้าให้นักเรียนได้คิดตั้งคำถามละลงมือตรวจสอบ นอกจากนี้ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถบนพื้นฐานของความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล อันที่จะทำให้การจัดการเรียนรู้บรรลุสู่จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 บทบาทของครูและนักเรียนในการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น
ขั้นการเรียนรู้
บทบาทของครู
บทบาทของนักเรียน
1. ตรวจสอบความรู้
-- เดิม (elicit)
- ตั้งคำถาม/กำหนดประเด็นปัญหา
- กระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความรู้เดิม
- ตรวสอบความรู้ประสบารเดิมของนักเรียน
- เติมเต็มประสบการณ์เดิม
- วางแผนการจัดการเรียนรู้
- ตอบคำถามตามความเข้าใจตนเอง
- แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
- อภิปรายร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับ
--นักเรียน
2. เร้าความสนใจ (engage)
- สร้างความสนใจ
- กระตุ้นให้ร่วมกันคิด
- ตั้งคำถามกระตุ้นให้คิด
- สร้างความกระหายใคร่รู้
- ยกตัวอย่างประเด็นที่น่าสนใจ
- จัดสถานการณ์ให้นักเรียนสนใจ
- ดึงคำตอบที่ยังไม่ชัดเจนนัก มาคิดและ
-- อภิปรายร่วมกัน
- ถามคำถามตามประเด็น
- แสดงความสนใจในเหตุการณ์
- กระหายอยากรู้คำตอบ
- แสดงความคิดเห็นและนำเสนอความคิด
- นำเสนอประเด็น/สถานการณ์ที่สนใจ
- อภิปรายประเด็นที่ต้องการทราบ
3. สำรวจค้นหา (explore)
- ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันในการ
--สำรวจตรวจสอบ
- ซักถามนักเรียนเพื่อนำไปสู่การสำรวจค้นหา
- สังเกตและรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน
- ให้ข้อเสนอแนะ คำปรึกษาแก่นักเรียน
- ให้กำลังใจและเสนอประเด็นที่ชี้แนะแนวทาง
--นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้สำรวจตรวจสอบ โดย
--ใชกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมทางวิทยาศาสตร์
- ส่งเสริมและพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์แ
--แก่นักเรียน
- คิดอย่างอิสระแต่อยู่ในขอบเขตของกิจกรรมสำรวจ
--ตรวจสอบ
- ทดสอบการคาดคะเนสมมติฐาน
- คาดคะเนและตั้งสมมติฐานใหม่
- พยายามหาทางเลือกในการแก้ปัญหาและอภิปราย
--ทางเลือกกับคนอื่นๆ
- บันทึกการสังเกตและให้ข้อคิดเห็น
- ลงข้อสรุปบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือได้
- ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการสำรวจ
--ตรวจสอบ
- เสริมสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์
- มีจรรยาบรรณของนักวิทยาศาสตร์
4. อธิบาย (explain)
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดและแสดงความคิด
-- เห็นอย่างอิสระ
- ส่งเสริมให้นักเรียนอธิบายความคิดรวบยอด
--ตามความเข้าใจของตัวเอง
- ให้นักเรียนแสดงหลักฐาน ให้เหตุผลอย่าง
--เหมาะสม
- ให้นักเรียนอธิบาย ให้คำจำกัดความและบ่งชี้
--ประเด็นที่สำคัญจากปรากฏการณ์ได้
- ให้นักเรียนใช้ประสบการณ์เดิมของตนเป็น
--พื้นฐานในการอธิบายความคิดรวบยอด
- อธิบายการแก้ปัญหาหรือคำตอบที่เป็นไปได้
- รับฟังคำอธิบายของตนอื่นอย่างสร้างสรรค์
- คิดวิเคราะห์วิจารณ์ในประเด็นที่เพื่อนนำเสนอ
- ถามคำถามอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นได้
--อธิบาย
- รับฟังและพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ครู
--อธิบาย
- อ้างอิงกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมา
- ให้ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการสังเกตประกอบคำ
--อธิบาย
5. ขยายความรู้ (elaborate)
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ที่เรียนมาไป
-- ปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้าง
-- สรรค์
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ที่เรียนมาไป
--ปรับประยุกต์ใช้หรือขยายความรู้ในสถาน
--การใหม่
- ส่งเสริมให้นักเรียนได้นำความรู้ที่เรียนมาไป
--ปรับประยุกต์ใช้ตามบริบท
- เปิดโอกาสให้นักเรียนได้อธิบายความรู้ความ
--เข้าใจอย่างหลากหลาย
- ให้นักเรียนอ้างอิงข้อมูลที่มีอยู่พร้อมทั้งแสดง
--หลักฐาน และถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่นัก
--เรียนได้เรียนรู้
- นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจตรวจสอบไปปรับประยุกต์
-- ใช้ในสถานการณ์ใหม่ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม
- ใช้ข้อมูลเดิมในการถามตามความมุ่งหมายของการ
-- ทดลอง
- บันทึกการสังเกตข้ออธิบาย
- ตรวจสอบความเข้าใจตนเองด้วยการอภิปรายข้อค้น
--พบกับเพื่อนๆ
6. ประเมินผล (evaluate)
- สังเกตนักเรียนในการนำความคิดรวบยอด
-- และทักษะใหม่ไปปรับใช้
- ประเมินความรู้และทักษะนักเรียน
- หาหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้เปลี่ยนความ
--คิดหรือพฤติกรรม
- ให้นักเรียนประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้
--และทักษะกระบวนการกลุ่ม
- ถามคำถามปลายเปิดในประเด็นต่างๆ หรือ
--สถานการณ์ที่กำหนดได้
- ตอบคำถามโดยอาศัยประจักษ์พยานหลักฐาน และคำ
--อธิบายที่ยอมรับได้
- แสดงความรู้ความเข้าใจของตนเอง จากกิจกรรม
-- สำรวจ ตรวจสอบ
- เสนอแนะข้อคำถามหรือประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่ง้
-- เสริมใหมีการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไป
-- ใช้ในการสำรวจตรวจสอบต่อไป
 
7. นำความรู้ไปใช้ (extend)
- กระตุ้นให้นักเรียนตั้งข้อคำถามตามประเด็น
-- ที่สอดคล้องกับบริบท
- กระตุ้นให้นักเรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้
- แนะแนวทางในการนำความรู้เดิมไปสร้างเป็น
-- องค์ความรู้ใหม่
- ปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน
- นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้อย่างเหมาะสม
- ใช้ทักษะกระยวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเชื่อม
--โยงเนื้อหาสาระไปสู่การแก้ปัญหา
- มีคุณธรรม จริยธรรม ในการนำความรู้ไปปรับใช้ใน
--ชีวิตประจำวัน
โดย ประสาท เนืองเฉลิม ที่มาข้อมูล : วารสารวิชาการ ปีที่ 10 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2550









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

16 on November 28 th, 2017